ลักษณะก๊าซดับเพลิงคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon dioxide - Co2)
บรรจุในถังแดง ต่างประเทศบรรจุในถังสีดำ ภายในบรรจุก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ในถังที่ทนแรงดันสูง
ประมาณ 800 – 1200 ปอนด์ ต่อตารางนิ้ว ซึ่ง ตัวถังดับเพลิงจะหนักและหนากว่าถังดับเพลิงประเภทอื่น ๆ ที่ปลายสายฉีดจะมีลักษณะเป็นกรวยทรงกระบอก คาร์บอนไดออกไซด์จะทำหน้าที่ในการดับเพลิงโดยคลุมดับและการตัดออกซิเจน โดยฉีดเข้าใกล้ฐานไฟให้มากที่สุด ประมาณ 1.5-2 เมตร เมื่อใช้งานแล้วจะไม่มีสกปรกหลงเหลือ เวลาใช้งานจะเสียงค่อนข้างดัง นิยมใช้ภายในอาคารที่ต้องการความสะอาด หรือมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เพราะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไม่เป็นสื่อของกระแสไฟฟ้า สามารถใช้ดับไฟประเภท Class C
การใช้งานของถับดับคาร์บอนไดออกไซด์ (Co2)
ง่ายและปลอดภัยในการใช้งาน ใช้งานง่ายโดยดึงสลักตรงมือจับให้ขาดแล้วดึงสายฉีดดับเพลิงออกจากที่เก็บพร้อมเล็งไปที่ฐานไฟ จากนั้นกดคันบีบให้สุด ใช้ได้กับไฟประเภท ดังนี้
Class B ได้แก่ เชื้อเพลิงที่เกิดจาก ก๊าซ น้ำมันเชื้อเพลิงต่างๆ
Class C ได้แก่ เชื้อเพลิงที่เกิดจากแผงวงจรไฟฟ้า ,กระแสไฟฟ้า
เหมาะสำหรับในสถานที่ ห้องไฟฟ้า, ห้องเซฟเวอร์, ห้องที่มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ,สถานที่ ที่ต้องการความสะอาด
ข้อดี
- สะอาด
- ทำความสะอาดง่าย เพราะเมื่อฉีดแล้วจะระเหยหมดไปเอง
- เหมาะสาหรับ ห้องอิเลคทรอนิกส์ หรือ ห้องเซฟเวอร์ ที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่เกิดการลุกไหม้ไฟที่ไม่ใหญ่
ข้อเสีย
- ฉีดดับไฟที่เกิดจาก ไม้ กระดาษ,ผ้า,พลาสติก,ยาง ไม่ได้ผล ซึ่ง ไฟสามารถลุกไหม้ขึ้น มาใหม่ได้อีก
- มีน้ำหนักมาก ไม่สะดวกในการยกเคลื่อนย้าย
- ไม่มีเกจ์วัดแรงดัน วิธีตรวจเช็คคุณภาพของเครื่องต้องชั่ง น้ำ หนัก คือถ้าน้ำ หนักลดไปเกิด 20% ของน้ำ หนักทั้งหมดให้สันนิษฐานอาจจะเกิดการรั่วซึม ให้ทำการแก้ไข หรือติดต่อตัวแทนจำหน่าย
- เวลาฉีดดับไฟ ต้องเข้าให้ใกล้ไฟประมาณ 2 เมตร
รายการถังดับเพลิง คาร์บอนไดออกไซด์ (Co2)
|
ถังดับเพลิง Co2 - 5 lbs |
น้ำหนักถังดับเพลิงเคมีแห้ง
Weight of container
|
7 kg. |
น้ำหนักสารเคมีในถังดับเพลิงเคมีแห้ง
Weight of Agent
|
2 kg. |
น้ำหนักรวมของถังดับเพลิง
Gross weight
|
9 kg. |
ระยะเวลาในการฉีดของถังดับเพลิง
Discharging time |
Approx 9 sec |
ส่วนสูงของถังดับเพลิง
Over all height
|
53 cm |
เส้นผ่าศูนย์กลางของถังดับเพลิง
Shell Diameter |
13 cm |
ระยะการฉีดได้ไกลของถับดับเพลิงเคมีแห้ง
Shooting Range |
1.5 M |
วิธีการตรวจเช็คสภาพถังดับเพลิงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ ถังดับเพลิง Co2
ควรตรวจสภาพถังดับเพลิงอย่างน้อยทุกๆ 6 เดือน มี 6 ขั้นตอนการตรวจ ดังนี้
1. (ช่อง ว/ด/ปี) ให้ระบุวันที่ ของวันที่ตรวจ ผู้ตรวจควรจะมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับถังดับเพลิงแต่ละประเภท เช่น (จป.ประจำโรงงานหรือพนักงานทั่วไปหรือผู้แทนจำหน่ายถังดับเพลิง เป็นต้น) ที่ต้องตรวจก็เพื่อให้รู้ว่ามีการดูแลตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ เมื่อเกิดเหตุจริงจะได้มั่นใจได้ระดับหนึ่งว่าถังดับเพลิงยังอยู่ในสภาพพร้อมนำไปใช้งานได้
2. (ช่อง สลัก สายฉีด) ตรวจสอบ สลัก ต้องเสียบล็อกคันบีบของถังดับเพลิง สายฉีดไม่แตกร้าว หักงอ ถ้าสภาพปกติ ติ๊ก / ถ้าสภาพผิดปกติ ติ๊ก X และนำไปแก้ไขให้เป็นปกติก่อน จึงกลับมาติ๊ก / ในใบตรวจ หรือดูตามสภาพความเหมาะสนโดยรวม
3. (ช่อง คันบีบ ข้อต่อ) ตรวจสอบ คันบีบถังดับเพลิง และข้อต่อถังดับเพลิง ต้องไม่เป็นสนิม หรือคดงอ ถ้าสภาพปกติ ติ๊ก หรือดูตามสภาพความเหมาะสมโดยรวม
4. (ช่อง สภาพถัง เกจวัด) ตรวจสอบ สีถังดับเพลิงต้องสดใส ตัวถังดับเพลิงต้องไม่ขึ้นสนิม ไม่ผุ ไม่แตกร้าว สติ๊กเกอร์ไม่ฉีกขาด อ่านรายละเอียดได้ชัดเจน ถ้าสภาพปกติ ติ๊ก / ถ้าสภาพผิดปกติ ติ๊ก X ดูตามสภาพความเหมาะสมโดยรวม
5. (ช่อง ผู้ตรวจ) ให้เซ็นต์ชื่อ หรือ ลายเซ็นของผู้ที่ทำการตรวจ
6. อย่างน้อยทุก 6 เดือน ควรนำถังดับเพลิง Co2 มาชั่งน้ำหนัก เพื่อเช็คว่าภายในถังดับเพลิงยังมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อยู่หรือไม่ หรือ เหลือมาก น้อยเพียงใด สมควรต้องนำไปเติมหรือไม่
น้ำหนักมาตรฐานปกติ
ถัง Co2 ขนาด 5 ปอนด์ น้ำหนักรวมสุทธิ 8.3Kg / น้ำหนักหายไป 2Kg ผิดปกติ X
ถัง Co2 ขนาด 10 ปอนด์ น้ำหนักรวมสุทธิ 13.5Kg / น้ำหนักหายไป 4Kg ผิดปกติ X
ถัง Co2 ขนาด 15 ปอนด์ น้ำหนักรวมสุทธิ 19.4Kg / น้ำหนักหายไป 6Kg ผิดปกติ X
สนใจสินค้า สามารถติดต่อเบอร์ 02-551-4427-9
Hotline : 086-085-1288
Email : sm@firewinner.com , sale@firewinner.com ,
sale01@firewinner.com